วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เริ่มงดน้ำตาลทรายเเล้วหันมาใช้น้ำตาลจากหญ้าหวานกันได้เเล้ว

หญ้าหวาน คือสมุนไพรชนิดหนึ่ง เป็นพืชล้มลุกมีลักษณะคล้ายต้นใบกะเพรา ใบสมุนไพรหญ้าหวานมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระเฉกเช่นเดียวกับในใบชาเขียวแต่มีมากกว่าคือรสหวานจัด ตัวใบจะให้รสหวานกว่าน้ำตาล 15-20 เท่า แต่เมื่อนำใบมาสกัดจะให้ความหวานสูงถึง 250 เท่าของน้ำตาลทรายแต่ไม่ให้พลังงาน
เริ่มงดน้ำตาลทรายเเล้วหันมาใช้น้ำตาลจากหญ้าหวานกันได้เเล้ว

เป็นที่นิยมในหลายๆประเทศ โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีที่ผู้คนนิยมบริโภคแต่อาหารที่ดีต่อสุขภาพ จึงมีการนำสารสกัดจากสมุนไพรหญ้าหวานมาใช้แทนน้ำตาลหรือทดแทนน้ำตาลบางส่วนมากว่า 35 ปีแล้วทั้งในอาหารและเครื่องดื่มใช้ปรุงอาหารได้เพราะไม่เปลี่ยนโมเลกุลเมื่อถูกความร้อนได้สูงถึง 250 องศาเซลเซียส ใช้เป็นส่วนประกอบในการถนอมอาหาร ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดิ่ม การทำยาสีฟันเพื่อช่วยลดอาการฟันผุ รวมทั้งแบคทีเรียในช่องปาก

ใน " หญ้าหวาน " มีสารที่ให้ความหวาน 8 ชนิด และมีสารหวานที่สำคัญ คือ Stevioside , Steviolbioside A , B , C , D , E Dulcoside A เป็นสารที่มีอยู่ในใบ " หญ้าหวาน " ที่มีความหวานคล้ายคลึงกับน้ำตาลทราย ซึ่งการออกรสหวานของสารหวานใน " หญ้าหวาน " จะไม่เหมือนกับน้ำตาลทราย จะออกรสหวานช้ากว่าน้ำตาลเล็กน้อย แต่รสหวานจะค่อยจางหายไปช้ากว่าน้ำตาลทราย สารหวานที่สกัดจาก " หญ้าหวาน " เรียกรวมว่า " สตีวิโอไซด์ " (Steviosides) มีความหวานมากกว่าน้ำตาลทราย 200 - 300 เท่าของน้ำตาลทราย (ซูโครส) แต่ไม่มีพลังงานและทนต่อความร้อนได้ถึง 250 องศาเซลเซียส จึงสามารถนำไปปรุงอาหารบนเตาได้ ปลอดภัยให้พลังงานต่ำ ใช้ผสมได้ทั้งในเครื่อมดื่มร้อนหรือเย็น เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก หรือผู้ป่วยเบาหวาน
น.พ.ไพจิตร์ วราชิต อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ปริมาณการบริโภคหญ้าหวานทุกรูปแบบรวมกันใน 24 ชั่วโมงของคนไทย คิดเป็นปริมาณเฉลี่ยประมาณ 0.92 กรัม/คน/วันนับว่าอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย โดยปัจจุบันคนไทยบริโภคหญ้าหวาน 5 รูปแบบเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ใบแห้งอบ ใบแห้งบดในซองชาสำหรับชงดื่ม ใบสด ใบแห้งบดสำหรับเติมแทนน้ำตาล และแบบสารสกัดจากใบหญ้าหวานแห้งด้วยน้ำโดยบริโภคหญ้าหวานอย่างเดียวมากกว่าบริโภคแบบผสมกับสมุนไพร อาหาร หรือเครื่องดื่มประเภทต่างๆ ส่วนใหญ่จะชงดื่มเหมือนชา รองลงมาคือ การต้ม และเคี้ยว ตามลำดับ โดยผู้บริโภคให้ข้อมูลในการบริโภคหญ้าหวาน คือเพื่อต้องการลดความดันโลหิต ทดแทนการบริโภคน้ำตาล และรักษา/ดูแลสุขภาพ และผู้บริโภคส่วนใหญ่อยู่ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองมาคือ ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ซึ่งมีการปลูกหญ้าหวานมากในภาคเหนือ ที่จังหวัดเชียงใหม่ เพชรบูรณ์

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การแสดงความคิดเห็นของบล็อกประเพณีไทย จะมีการตรวจสอบอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้น
ควรใช้คำพูดที่สุภาพและเหมาะสม ก่อนที่จะทำการแสดงความคิดเห็นของท่านสู่ที่สาธารณะ งดคำหลาบ คำว่าร้ายทุกกรณี หรืออื่นๆที่ทีมงานเห็นว่าไม่ดีไม่งาม
ขอลบทันทีโดยไม่บอกกล่าวหรือแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
ขอบคุณครับ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น